logo
image

icon-travel-2 เที่ยวงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ชมพระอาทิตย์ตก 15 ช่องประตู

เที่ยวงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ชมพระอาทิตย์ตก 15 ช่องประตู

มีนาคม 2, 2020
แชร์ :

เที่ยวงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
ชมพระอาทิตย์ตก 15 ช่องประตู

เวียนมาบรรจบอีกครั้งสำหรับงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งซึ่งจะจัดขึ้นช่วงวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือน เมษายนของทุกปี

ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เริ่มขึ้นครั้งแรกในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เมื่อ พ.ศ.2485 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีทางขึ้นสู่ตัวปราสาท ประกอบกับทางจังหวัดใกล้เคียงอย่างสุรินทร์มีประเพณีขึ้นเขาสวายในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี ท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณ จากวัดท่าประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเดินทางมาปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานที่เขาพนมรุ้ง จึงมีความคิดอยากให้ประชาชนได้ร่วมกันทำบุญพบปะสังสรรค์ สร้างความสามัคคีอันดีในประเพณีขึ้นเขา และกลายเป็นประเพณีปฏิบัติที่สืบทอดกันมานับตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน

เขาพนมรุ้ง
เขาพนมรุ้ง

หนึ่งไฮไลต์สำคัญของงานประเพณีนี้ก็คือ ทุกปีจะมีปรากฏการณ์ที่ผู้มาเยือนจะมองเห็นดวงอาทิตย์ลอดประตูทางด้านทิศตะวันตกฝ่ากรอบประตู 15 ช่องประตู ทะลุผ่านประตูปรางค์ประธาน และทะลุออกซุ้มประตูหน้า ความยาว 88 เมตร พอดิบพอดี

เขาพนมรุ้ง
เขาพนมรุ้ง

สำหรับปรากฏการณ์ดังกล่าวจะมีโอกาสได้เห็นเพียง 4 ครั้ง ในรอบ 1 ปี คือ ช่วงพระอาทิตย์ขึ้น 2 ครั้ง ในเดือนเมษายนและกันยายน และช่วงพระอาทิตย์ตก 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคมกับตุลาคม โดยในปี 2566 นี้ เหตุการณ์ช่วงพระอาทิตย์ตกจะเกิดขึ้นครั้งแรกในวันอาทิตย์ที่ 5-7 มีนาคม และเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม ส่วนเหตุการณ์ช่วงพระอาทิตย์ขึ้นจะเกิดครั้งแรกในวันที่ 3-5 เมษายน และมีอีกครั้งระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม

ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ปี 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 2 เมษายน 2566

ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้น-ตก 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง

  • ครั้งที่ 1 พระอาทิตย์ตก วันที่ 5-7 มีนาคม เวลาประมาณ 18.15 น.
  • ครั้งที่ 2 พระอาทิตย์ขึ้น วันที่ 3-5 เมษายน เวลาประมาณ 06.03 น.
  • ครั้งที่ 3 พระอาทิตย์ขึ้น วันที่ 8-10 กันยายน เวลาประมาณ 05.57 น.
  • ครั้งที่ 4 พระอาทิตย์ตก วันที่ 5-7 ตุลาคม เวลาประมาณ 17.55 น.
เขาพนมรุ้ง
เขาพนมรุ้ง

ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ก่อสร้างขึ้นมาจากภูมิปัญญาอันแยบยลของคนโบราณที่ถ่ายทอดความศรัทธาในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะนิกายผ่านก้อนหินนับร้อยนับพันก้อน ก่อเกิดเป็นความยิ่งใหญ่แห่งเทวสถานบนยอดภูเขาไฟ 1 ใน 6 ลูก ของเมืองบุรีรัมย์

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในช่วงเดือนเมษายน ยังสามารถเข้าร่วมงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ซึ่งจะจัดกิจกรรมต่างๆ อันเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณ อาทิ พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ ปราสาทพนมรุ้ง ชมขบวนแห่พระนางภูปตินทรลักษมีเทวีและเทพพาหนะทั้งสิบ การแสดงแสง สี เสียง และสื่อผสมบอกเล่าเรื่องราวพนมรุ้ง รวมทั้งแวะชิมอาหารพื้นเมืองโบราณตามแบบท่องเที่ยววิถีไทย ณ “ตลาดย้อนยุคเมืองแปะ” ชมและเลือกซื้อสินค้าที่ระลึก ณ บริเวณลานโพธิ์ก่อนขึ้นปราสาท

ขอขอบคุณข้อมูลจาก m-culture.go.th/buriram และ i-san.tourismthailand.org/event/
ขอบคุณภาพจาก wikipedia.org


บทความที่เกี่ยวข้อง