อินเดีย ดินแดนแห่งมรดกทางวัฒนธรรม และประเพณีอันหลากหลาย มีชื่อเสียงในด้านความสำคัญทางจิตวิญญาณ หนึ่งในเทพที่นับถือมากที่สุดในศาสนาฮินดูคือ พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความโชคดี สำหรับผู้แสวงบุญ และสายมูทั้งหลาย บทความนี้เราจะไปรู้จัก พระพิฆเนศ ทั้ง 9 พระองค์ ที่กระจายอยู่ทั่วอินเดีย
วัดศรีมันตะ ดั๊กดูเศรษฐ์ ฮาลไว คณาปตี ตั้งอยู่ในเมืองวัฒนธรรม Pune เป็นสถานที่สำคัญทางจิตวิญญาณ วัดนี้มีชื่อเสียงในด้านความยิ่งใหญ่และเทวรูปพระพิฆเนศ องค์ดั๊กดูเศรษฐ์ ที่งดงามประดับด้วยทองคำและอัญมณีล้ำค่า ผู้แสวงบุญแห่กันไปที่วัดแห่งนี้เพื่อขอพรจากพระพิฆเนศในด้านสติปัญญา ความกล้าหาญ และการเติมเต็มความปรารถนาของพวกเขา รัศมีทางจิตวิญญาณ ควบคู่ไปกับการอุทิศตนอย่างจริงใจของผู้มาสักการะ สร้างบรรยากาศแห่งความเคารพและศรัทธาอย่างสุดซึ้ง เชื่อกันว่าผู้ใดที่ได้มาสักการะจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ร่ำรวยเงินทองแบบมหาศาล
วัดศรีสิทธิวินายัก (Siddhivinayak) ตั้งอยู่ในเมืองมุมไบ (บอมเบย์) เป็นสถานที่เคารพสักการะสำหรับผู้นับถือพระพิฆเนศ ด้วยเทวรูปพระพิฆเนศ วัดแห่งนี้ดึงดูดผู้ศรัทธานับล้าน องค์พระพิฆเนศที่นี่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากที่อื่นตรงที่ งวงหันไปทางขวา ถือว่าเป็นประธานของเทวรูปพระพิฆเนศ ทั้งหมดในโลก โดยมีความเชื่อว่าหากไปขอพร จะช่วยให้ประสบความสำเร็จ ในเรื่องงานราบรื่นทุกประการ
วัดศรีบัลลาเลศวา เมืองปาลี โดยสวยัมภูมูรติองค์นี้หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และงวงหันไปทางซ้าย บริเวณพระเนตร และพระนลาฏ (หน้าผาก) ประดับด้วยเพชร ประทับอยู่บนบัลลังก์ไม้แกะสลัก โดยมี มุสิกะ หนูเทวพาหนะของพระองค์ท่าน เหยียบขนมโมทกะอยู่บริเวณด้านหน้าของเทวรูปบริเวณด้านหลังเทวสถานแห่งนี้จะปรากฏ เทวสถานศรีทุนธิ (Shree Dhundi Temple) ที่ประดิษฐานหินพระคเณศ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหินพระเคณศเดียวกับที่ถูกนายกัลยัน บิดาของเด็กหนุ่มบัลลาเขวี้ยงทิ้ง ผู้ใดที่มาสักการะจะได้รับความสุขทั้งครอบครัว
วัดศรีวรัถวินายัก เมืองมาฮัท มีพิฆเนศ องค์ศรีวรัถวินายัก องค์นี้หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และงวงหันไปทางซ้าย ภายในวิหารที่ประดิษฐานพระวรทาวินายกะแห่งนี้ได้รับแสงสว่างจากตะเกียงน้ำมันที่มีความเชื่อว่าไม่เคยมอดดับตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1892 โดยมีปลายยอดโดมทำด้วยทองคำ และเป็นเทวสถานแห่งเดียวที่อนุญาตให้เข้าไปสักการะภายในวิหารได้ ภายนอกวิหารจะปรากฏช้างจำนวน 4 เชือก อยู่ทั้ง 4 ด้าน ผู้ใดที่มาสักการะ จะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลบล้างคุณไสย์ มนต์ดำต่างๆ ได้ และเชื่อว่าจะช่วยให้หายป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง และทำให้สุขภาพแข็งแรง
ประดิษฐานอยู่ที่ วัดศรีวิฆเนศวา เมืองโอซาร์ เทวะสถานแห่งนี้มีชื่อเสียงมากในเรื่องความงดงามทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะยอดโดมที่เป็นทองคำและความงดงามของพวงมาลัยที่ประดับอยู่ที่ตัวเทวาลัย นามขององค์ศรีวิฆเนศวรมาจากเทวตำนานว่า กษัตริย์ อภินันทะ ประกอบพิธีบูชายัญเพื่อจุติมาเป็นอินทรเทพ พระอินทร์ ได้ทราบดังนั้นจึงสร้างวิฆนาสูรเพื่อส่งไปทำลายพิธีกรรมของกษัตริย์ อภินันทะ แต่อสูรตนนี้กลับทำลายพิธีทั้งหมดทำให้ธรรมะเลือนหายไปจากทั้งสามโลก เหล่าฤาษีนักบวชจึงอ้อนวอนต่อพระพิฆเนศให้เสด็จมาปราบอสูร พระพิฆเนศใช้อำนาจสยบอำนาจทั้งหมดของอสูรท าให้วิฆนาสูรยอมแพ้และถวายตัวต่อองค์พระพิฆเนศเพื่อให้ไว้ชีวิตตนและขอร้องให้องค์พระพิฆเนศใช้ชื่อของตัวเองรวมกับพระนามของพระองค์เพื่อล้างบาปและเป็นบุญกุศลแก่อสูร เทวรูปพระพิฆเนศ ที่นี่จึงถูกขนานนามว่า “ศรีวิฆเนศวร” หมายถึงผู้ขจัดอุปสรรคและภยันตราย เชื่อว่าผู้ที่มาสักการะองค์ศรวีิฆเนศวรก่อนทำการใดๆ จะทำการนั้นได้สำเร็จราบรื่น ไร้อุปสรรค
ประดิษฐานอยู่ที่ วัดศรีคีรีจัตมา เมืองเลนยาดรี ตั้งอยู่ในถ้ำบนภูเขาริมแม่น้ำกุกดีเมืองเลนยาตรี (Lenyadri) ซึ่งครั้งหนึ่งถ้ำที่ภูเขาแห่งนี้ได้ขุดเจาะเพื่อเป็นวัดในพระพุทธศาสนา หลังจากพระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อม ศาสนาฮินดูก็รุ่งเรือง และภายในถ้ำแห่งนี้ก็เกิดปาฏิหาร มีพระพิฆเนศเกิดขึ้นมาทำให้ชาวฮินดูขึ้นมายาตรามหาเทพ จึงทำให้ถ้ำแห่งนี้กลายเป็นถ้ำของพระพิฆเนศ การสักการะองค์พระพิฆเนศ จะต้องขึ้นบันได 283 ขั้นเทวะตำนานแห่งนี้เล่าว่า พระแม่ปารวตี (พระอุมาเทวี) ต้องการโอรสมากจึงได้ทำพิธีปันยากพรต (บุญยักวริตะ) ขึ้นเพื่อเป็นการบูชาต่อพระวิษณุเทพตามการแนะนำของพระศิวะเป็นเวลาหนึ่งปี ทำให้พระวิษณุโปรดปราณมาก จึงให้พระกฤษณะ ไปกำเนิดเป็นบุตรของพระแม่อุมาเทวี และสถานที่ที่พระแม่อุมากระทำพิธีก็คือเทวะสถานคีรีจัตมาแห่งนี้นี่เอง จึงเชื่อกันว่า พระพิฆเนศเป็นอวตารปางหนึ่งของพระกฤษณะ ด้วยการยาตรามายังถ้าเทวะสถานคีรีจัตมาแห่งนี้ก็เพื่อขอบุตร ซึ่งผลบุญแห่งการยาตรามาแสวงบุญนี้จะทำให้ผู้ที่ยังไม่มีบุตรและมาประกอบพิธีขอบุตรที่นี่จะประสบความสำเร็จสมหวังเสมอและ จะได้บุตรที่ดีเฉลียวฉลาดและมีปัญญาหลักแหลม
วัดศรีมหาคณปติ เมืองรันยันทาวน์ เทวตำนานเล่าว่า ขณะที่ฤาษีคฤตสมาชนั่งบำเพ็ญเพียรภาวนาได้จามออกมาเป็นกุมารน้อยผิวสีแดง จึงสอนให้กุมารสวดบูชาต่อพระพิฆเนศ กุมารน้อยบำเพ็ญเพียรกว่าห้าพันปีทำให้พระพิฆเนศพอใจเป็นอย่างมากจึงประทานพรให้ แต่กุมารขอให้ตนเองมีอำนาจเหนือ 3 โลก พระพิฆเนศให้ตามที่ขอโดยการเนรมิตประสาท 3 หลัง คือประสาททองคำประสาทเงิน และประสาทโลหะให้และตรัสว่า “ต่อไปนามของเจ้าคือ ตรีปุระ และวันใดที่เจ้าชั่วร้าย ประสาทเหล่านี้จะถูกทำลายและเจ้าจะถูกทำลายเสวยศรดอกเดียวของพระศิวะ บิดาแห่งข้า” ต่อมาตรีปุระ ลำพองตนรุกรานทั้ง 3 โลก องค์พระศิวะจึงเสด็จมาปราบ และหลังจากบวงสรวงต่อพระพิฆเนศแล้วพระศิวะก็ปราบตรีปุระได้สำเร็จ จึงเชื่อว่าเทวสถานแห่งนี้เป็นสถานที่ที่พระศิวะบวงสรวงต่อพระพิฆเนศ การสักการะองค์ศรีมหาคณปติจะทำให้มีอำนาจยิ่งใหญ่ สามารถพิชิตมารร้าย และอุปสรรคทั้งหลายได้สำเร็จ ผู้ที่มาสักการะองค์ “ศรีมหาคณปติ” ที่นี่จะได้รับความสำเร็จสมปรารถนา
วัดศรีจินดามณี เมืองเทอูร์ ์ห่างจากเมืองปูเน่ประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในเทวสถานในกลุ่มอัษฏวินายักกะที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ผู้มาสักการะองค์ “พระศรีจินดามณี” จะสมหวัง ดังได้อธิษฐานต่อลูกแก้วจินดามณี
องค์ศรีมยุเรศวร ประดิษฐานอยู่ที่ วัดศรีมยุเรศวร เมืองโมเรกาวน์ กษัตริย์จักรปาณี และ พระนางอัครา ได้ทำพิธีขอบุตรจาก สุริยเทพ เมื่อทรงครรภ์พระนางก็ไม่ สามารถทนความร้อนแรงที่เกิดจากทารกในครรภ์ได้ จึงขับทารกออกจากครรภ์ และได้นำตัวอ่อนของทารกไปฝากไว้กับ พระสมุทร ในทะเล บังเกิดเป็นทารกที่มีกายสีแดงพระโอรสได้รับพระนามว่า สินธุ เพราะถือกำเนิดจากทะเล เมื่อสินธุเติบโตขึ้น บำเพ็ญตบะพร่าสวดมนตราภาวนาต่อองค์พระสุริยเทพเป็นเวลาถึงสองพันปี จนสุริยเทพพอพระทัย จึงเสด็จมาให้พรสินธุขอพรให้เป็นอมตะ สุริยเทพประทานหม้อน้าอมฤตโดยบอกว่า ตราบใดที่น้าอมฤตนี้ยังอยู่ในท้อง ก็จะไม่มีผู้ใดฆ่าสินธุได้ เมื่อได้พรแล้วก็กลับมายังอาณาจักรสืบราชสมบัติต่อจากพระบิดา แต่นิสัยใจคอนั้นดุร้ายเหี้ยมโหดดังอสูร จับเทวดานางฟ้ากักขัง จนบรรดาทวยเทพต้องร่วมกันอ้อนวอนต่อองค์พระคเณศให้ช่วยเหลือ พระคเณศทรงประทับมาบนหลังนกยูง ใช้ขวานผ่าท้องสินธุ เอาหม้อน้าอมฤตออกจากท้องแล้วสังหารสินธุด้วยการตัดหัว หลังจากที่หัวของสินธุขาดก็เกิดเป็นสีแดงสดใสสาดไปทั่วทั้งสวรรค์ บังเกิดเป็นผงเจิมสีแดงสดที่ใช้ในการบูชาเทพเจ้า ผงนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ผงสินธู” ผู้ที่มาสักการะองค์ “พระศรีมยุเรศวร” จะปราศจากอุปสรรคและอันตรายใดๆ มาแผ้วพาน