พิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง (Tuol Sleng Genocide Museum) ตั้งอยู่ในเมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์สำคัญที่บอกเล่าถึงอดีตอันเจ็บปวดของประเทศกัมพูชา “ตวล สเลง” เป็นชื่อของคุกสมัยที่เขมรแดงครองประเทศ ดั้งเดิมเคยเป็นโรงเรียนมาก่อน ตวลสเลง มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า s-21 (Security Office 21) ใช้กักขังและขู่เข็ญคนที่คิดว่าเป็นศัตรู หรือเป็นกบฏต่อประเทศชาติและรัฐบาล ทุกภูมิภาค ทุกระดับชั้น รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้ถูกคุมขังสารภาพผิด และลงท้ายด้วยการฆ่า จุดหมายปลายทางของนักโทษทุกคนในนี้ ทางเดียวที่จะออกไปจากคุกแห่งนี้คือ การสิ้นลมหายใจ แต่กว่าที่จะถึงเวลาได้ออกไปนั้นต้องเผชิญกับการกระทำที่ทารุณ โดยเหล่าบรรดานักโทษจะถูกทรมานด้วยวิธีการต่างๆ
ย้อนรอย “กัมพูชา” ช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจหลังจากยึดกรุงพนมเปญได้ในปี พ.ศ. 2518 ทั่วทั้งแผ่นดินแดงฉานด้วยเลือดประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อความโหดเหี้ยม ประวัติศาสตร์กัมพูชายุคใหม่เริ่มต้นเมื่อได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงเจนีวาระหว่างเวียดนามกับฝรั่งเศสเมื่อพ.ศ.2497 สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุปกครองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งผลกระทบของสงครามเย็นทำให้กัมพูชาในช่วงปี พ.ศ. 2508 สภาพเศรษฐกิจและสังคมตกต่ำเสื่อมโทรมถึงขีดสุด เกิดความวุ่นวายทางการเมืองและการเดินขบวนประท้วงรัฐของนักศึกษาและประชาชนในเดือนเมษายน พ.ศ. 2510 ชาวบ้านและชาวนาในอำเภอซัมลูด จังหวัดพระตะบอง ก่อการจลาจล รัฐบาลส่งทหารเข้าปราบปราม
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2513 นายพลลอน นอล ทำการรัฐประหาร ก่อนกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์กัมพูชา หรือเขมรแดง (Khmer Rouge) มีเวียดกงเป็นพันธมิตร เข้ายึดอำนาจปกครองกัมพูชาได้เบ็ดเสร็จเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2518 นายพล ลอนนอล นั้นได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆ จากสหรัฐอเมริกา เพื่อโค่นล้มอำนาจของสมเด็จนโรดมสีหนุ หลังจากทำการรัฐประหารยึดอำนาจเสร็จสิ้น สมเด็จนโรดมสีหนุได้ลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศจีน และได้ปลุกกระแสมวลชนที่ยังสนับสนุนพระองค์ผ่านทางวิทยุกระจายเสียง และผู้ที่อยู่เบื้องหลังเขมรแดงที่แท้จริงนั้น คนกัมพูชาคงรู้อยู่แก่ใจ สมเด็จนโรดมสีหนุ ได้ปลุกกระเเสมวลชนให้หันมาสนับสนุนกองทัพเขมรแดง ซึ่ง ณ ตอนนั้นยังไม่ได้แสดงธาตุแท้ของความโหดเหี้ยมออกมา โดยหวังว่าพระองค์จะได้กลับมาปกครองประเทศอีกครั้ง หลังจากเขมรแดงยึดอำนาจได้ในปี พ.ศ.2518 ทุกอย่างดูเหมือนจะดีขึ้น แต่ไม่นาน พระองค์ก็ถูกเขมรแดงรวบอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมด จากนั้นกัมพูชาก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของนายพล พต ผู้นำกลุ่มเขมรแดง ผู้โค่นล้มรัฐบาลลอน นอล ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา กัมพูชาในกำมือพล พต ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2522 ตกอยู่ในความรุนแรงสุดขั้วเพื่อปรับปรุงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมพึ่งตนเอง ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอกประเทศ และไม่ยอมเป็นพันธมิตรกับชาติใดๆ โดดเดี่ยวประเทศออกจากอิทธิพลของต่างชาติ ปิดโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน ยกเลิกระบบธนาคาร ระบบเงินตรา ยึดทรัพย์สินจากเอกชนทั้งหมด
โดยในช่วงแรกผู้คนต่างโห่ร้องดีใจหลังจากที่เขมรแดงได้ยึดอำนาจจากนายพลลอน นอล เพราะหวังว่าความสงบสุขจะกลับมาเยือนชาวกัมพูชาอีกครั้ง พล พต สั่งให้อพยพผู้คนจากกรุงพนมเปญสู่ชนบท เพื่อทำการเกษตร ทุกคนได้แต่หวังว่าจะมีข้าวกิน มีการทำนาที่เป็นระบบนารวม โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่รอพวกเขาอยู่คือความตาย พล พต เชื่อว่าระบบสังคมนิยมจะนำกัมพูชาสู่ความเจริญรุ่งเรืองเหมือนในอดีตได้ โดยประเทศควรจะอยู่อย่างสันโดษ ไม่ต้องพึ่งวิทยาการเทคโนโลยีใดๆ ขอให้มีข้าวกินก็อยู่ได้ เขาจึงกวาดล้างผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ทางความคิด นักศึกษาปัญญาชน แพทย์ วิศวกร นักปราชญ์ เมื่อเขมรแดงยึดกรุงพนมเปญ ประชาชนพลเมืองถูกหลอกออกจากเมืองไปยังชนบทกันดาร พล พต ต้องการเปลี่ยนให้ชาวกัมพูชากลับไปเป็น ชนดั้งเดิม ใช้แรงงานเพื่อการเกษตร ทุกคนต้องเป็นชาวนาชาวไร่ อาศัยอยู่ในค่ายแรงงาน ทำงานวันละ 12 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก และไม่มีอาหารเพียงพอ 4 ปีที่พล พต อยู่ในอำนาจ มีผู้คนล้มตายไปนับล้านชีวิต ทั้งอดอยาก ทั้งถูกทารุณกรรม ถูกฆ่า
คุกตวลสเลง แต่เดิมเป็นโรงเรียนมัธยม มีตึกเรียน 4 ชั้น 4 อาคาร ซึ่งถ้าดูจากภายนอกตอนนี้ก็เหมือนกับโรงเรียนธรรมดา เพราะยังมีโครงสร้างเป็นโรงเรียน บนพื้นที่ประมาณ 10 กว่าไร่ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1976 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2519 เขมรแดงได้เปลี่ยนโรงเรียนแห่งนี้เป็น S-21 หรือ Tuol Sleng ชื่อ S-21 ย่อมาจาก Security Office 21 วัตถุประสงค์คือใช้เป็นสถานที่รีดไถคำสารภาพโดยใช้วิธีใดก็แล้วแต่ และพอรีดไถสำเร็จแล้วก็เอาไปฆ่า หรือจัดการกับผู้ทำผิดก้าวแรกจะเป็นหลุมฝังศพของผู้เสียชีวิต 14 ศพ
คุกตวลสเลงจะมีกฎระเบียบอยู่ 10 ข้อ มีรายละเอียดดังนี้
การเดินทางจากสนามบินไปพิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง
เวลาในการเปิด-ปิดทำการ
อัตราค่าบริการ